วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์

ธรรมชาติของสื่อ
 แบบ ไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพียงเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่น
ซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น

ข้อเด่นของสื่อ    
สามารถใช้ได้ทุกที่ๆมีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว
ข้อเสียของสื่อ
เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุง
ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา
หลักการใช้งานสื่อ
เป็นสื่อที่มีข้อมูลค่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุง   สื่อ ออฟไลน์ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อออฟไลน์แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็นและคุ้นตา

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์


ธรรมชาติของสื่อ
              คน อ่านไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ หรือต้องใช้เวลากับสิ่งหนึ่งนานๆ ดังนั้น เมื่อเข้ามาเพื่ออ่านข้อความสักหนึ่งข้อความ ผู้อ่านต้องการทราบโดยรวดเร็วว่า บทความหรือเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องอะไรที่เขาจะอ่านในบทความได้บ้าง โดยลักษณะการอ่านก็คือ การกวาดสายตา
สื่อคอมพิวเตอร์ออนไลน์(Online) 
คือ ใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้น   ตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online)อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย
ข้อเด่นของสื่อ
 สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด และประหยัดเวลาในการศึกษาสื่อ
ข้อเสียของสื่อ
            การป้องกันข้อมูลจากการระเมิดสิทธิเป็นไปได้ยาก เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำบางสื่อไม่สามารถใช้ศึกษาเชิงวิชาการได้
หลักการใช้งานสื่อ
การ ใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิด ประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา  แต่หากเราใช้ไปในทางที่ ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยาก ให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง

สื่อประเภทกิจกรรม


ธรรมชาติของสื่อ
กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้ เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

ข้อเด่นของสื่อ
                                1.  สร้างความสนใจให้กับประชาชนต่อหน่วยงานในทางบวก
2.  ทำให้ไม่ถูกลืมเลือนในวงสังคมและสื่อมวลชน
3.  เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในกิจกรรมได้
4.  เกิดภาพลักษณ์ที่ดี อันเป็นการสร้างผลทางประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานในระยะยาว
5. 
เป็นสื่อที่ได้ยินเสียงและภาพสวยๆให้ดู

ข้อเสียของสื่อ
1.  ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง
2.
  เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ไม่กว้างเท่าสื่อประเภทอื่น
3.
  ต้องอาศัยสื่อมวลชนและสื่ออื่น จึงจะได้ผลในแง่ประชาสัมพันธ์
4. 
มีระยะเวลาในการชมงานน้อย
5. 
บางอย่างไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
 
หลักการใช้งานสื่อ
                                นิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของวัสดุ อุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อหลายชนิด เช่น แผนภาพ หุ่นจำลอง ของจริง นอกจากนี้นิทรรศการยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการสื่อความหมายกับผู้ชม

สื่อประเภทเสียง

ธรรมชาติของสื่อ
สื่อประเภทเสียง หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ช่วยในการถ่ายทอดและบันทึกเสียง ของผู้สอนและเสียงอื่น ๆ เพื่อจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

ข้อเด่นของสื่อ  
เครื่อง ฉายภาพข้ามศีรษะให้แสงสว่างที่เพียงพอ ดังนั้นจึงสามารถใช้ในห้องเรียนปกติได้ โดยเครื่องนี้จะตั้งฉายหน้าชั้นเรียน ทำให้ผู้สอนสามารถมองเห็นหน้าผู้เรียนได้ถนัด
 
ข้อเสียของสื่อ       
เนื่อง จากเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะออกแบบมา เพื่อใช้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่มิใช่เพื่อเป็นสื่อรายบุคคล ดังนั้นจึงไม่สามารถทำเป็นแบบสำเร็จ (Program) เอาไว้ การใช้จึงขึ้นอยู่กับผู้สอน หรือผู้เสนอเนื้อหาเป็นสำคัญ
 
หลักการใช้งานสื่อ
       1. ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย
                 2. ระบบเสียงสเตอริโอ
(stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่อง เสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา

สื่อประเภทฉาย

ธรรมชาติของสื่อประเภทฉาย 
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่   เครื่อง ฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น

ข้อดีสื่อประเภทฉาย
1.สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2.เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก

ข้อด้อยของสื่อประเภทฉาย
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก
หลักการใช้สื่อประเภทฉาย
     เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น
1. แบ่งตามระบบการฉาย
        1.1.  ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
        
                เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย
                  ผ่านเลนซฉายออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์
             1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย
                  แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่ เดียว  แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส
            1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉาย
        ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง

2.  แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
                   2.1  เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
           2.2  เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.  แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
          3.1  เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (Transparency Projector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (Transparency Materials)  เช่น  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
          3.2  เครื่องฉายภาพทึบแสง  (Opaque Projector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
                3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็น เครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง
             เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ

4.  แบ่งตามลักษณะการใช้งาน  ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ  เช่น
                   4.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                   4.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                   4.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                   4.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.  แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
                         5.1  เครื่อง ฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย  เช่น
                         5.1.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                         5.1.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                         5.1.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                         5.1.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง 
                         5.2  เครื่อง ฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็ก ทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร  โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค  LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT  จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น  DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล  เนื่อง จากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนา ลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น  จนแทบจะกล่าวได้ว่า  เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว 

สื่อสิ่งพิมพ์

ธรรมชาติของสื่อสิ่งพิมพ์  
บทบาท หน้าที่ และอิทธิพลเช่น หนังสื่อพิมพ์ นิตยสาร วารสาร โปสเตอร์ ประวัติ วิวัฒนาการ และความรู้เกี่ยวกับการทำหนัวสือพิมพ์ การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งระบบการพิมพ์ที่ควรรู้

ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์
1. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง
2. เลือกกลุ่มเป้าหมายได้
3. รวดเร็วทันสมัย ทันเวลา
4. ค่าใช้จ่ายถูก
5. เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือ
6. สามารถส่งข่าวสารถึงกลุ่มเป้าหมาย หลายกลุ่มได้ในเวลาที่พร้อมกัน
7. สามารถออกแบบรูปแบบสื่อได้เต็มที่ เพราะไม่มีขีดจำกัดด้านเนื้อที่ ขนาด
8. สื่อมีอายุยาวนาน
9. มีความคงทนถาวร
10. มีความยืดหยุ่นสูง เพราะอาจเปลี่ยนแปลงเนื้อหา และงบประมาณของสถาบันได้ง่าย

ข้อจำกัดของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือผู้สูงอายุที่สายตาไม่ดี
2. ผู้อ่านจะเลือกอ่านเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเขา
3. งบประมาณเป็นอุปสรรคในการจัดทำ
4. ยุบหรือเลิกง่าย
5. มีวัตถุประสงค์ไม่แน่นอน หรือขาดความรู้ที่น่าสนใจ
6. การเผยแพร่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม

หลักการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
1. เก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งพิมพ์
2. สรุปลักษณะต่าง ๆ เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์, ลักษณะกระดาษ
3. ออกแบบแนวคิดสื่อสิ่งพิมพ์ว่าต้องการให้ออกมาให้รูปแบบใด
4. ทดลองทำและแก้ไขในสิ่งที่ต้องการปรับปรุง
5. พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์